63 ล้านโดส “วัคซีนโควิด-19” เพียงพอสำหรับคนไทย

30/01/2021 10:34

63 ล้านโดส “วัคซีนโควิด-19” เพียงพอสำหรับคนไทย

   ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คงไม่มีประเด็น Hot อื่น นอกจากเรื่องของวัคซีนโควิด-19 ที่กลายมาเป็นประเด็นทางการเมืองแบบร้อนฉ่า ล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ออกมาเคลียร์ครบ ชัดทุกประเด็น ถึงแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 เพื่อคนไทย

   “ก่อนอื่น ต้องพูดกันชัดๆก่อนว่า โควิดเป็นโรคใหม่ ไม่มีใครเคยรู้จัก หรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคนี้มาก่อน ไม่ใช่เฉพาะแค่เมืองไทย แต่เป็นการนับหนึ่งกันทุกประเทศในโลก ในการควบคุม ป้องกัน รักษา ต่างใช้ประสบการณ์ในอดีตที่ใกล้เคียงที่สุด มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำงาน ซึ่งต้องติดตาม ปรับปรุงแผน พัฒนาระบบกันทุกวัน” นายอนุทิน เริ่มต้นอธิบายแบบเรียบๆเข้าใจง่าย

รมว.สาธารณสุข บอกว่า กระทรวงสาธารณสุข พยายามทำงานเพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดในประเทศไทยให้ดีที่สุด ทั้งในช่วงเวลาที่ไม่มีวัคซีน และแม้แต่กำลังจะมีวัคซีนแล้ว ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักการทางการแพทย์ทุกประการ และการฉีดวัคซีนให้กับคนไทยทุกคนด้วยความสมัครใจ จะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2565 เป็นอย่างช้า

   “ขอย้ำว่า การฉีดวัคซีน ไม่ใช่การปลดล็อกทุกอย่างที่จะทำให้เรากลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมๆ ก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 ได้โดยเร็ว ในระยะแรกของการฉีด วัคซีนอาจเป็นเพียงเครื่องมือควบคุมโรค และป้องกันไม่ให้ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยหนักและเสียชีวิต แต่หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ทุกคนยังต้องใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ และไม่ไปที่แออัด เพื่อลดการติดและการแพร่เชื้ออีกสักระยะ เราต้องติดตามผลการศึกษาวัคซีนว่าจะสร้างภูมิคุ้มกันได้นานแค่ไหน กันต่อไป”

ส่วนที่ถามว่า ทำไมเราถึงเลือกแอสตราเซเนกา นายอนุทิน บอกว่า เมื่อพิจารณาข้อมูลด้านเทคนิคการผลิตและการจัดการวัคซีนจากแหล่งผลิตไปจนถึงประชาชนแล้ว เราต้องเลือกวัคซีนที่มีความเหมาะสมกับประเทศไทย และคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนสูงสุด รวมถึงการใช้เงินงบประมาณ ซึ่งเป็นภาษีของประชาชนอย่างคุ้มค่าที่สุด จึงเป็นที่มาของการเลือกซื้อวัคซีนจากบริษัทแอสตราเซเนกา จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีราคาที่ต่ำกว่าวัคซีนของผู้ผลิตรายอื่น และเหมาะสมกับการจัดการฉีดในประเทศ ไทยมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนอื่นๆ

   “มากไปกว่านั้น การได้รับข้อเสนอจากบริษัทแอสตราเซเนกาฯ ใช้โรงงานในประเทศไทย เป็นฐานการผลิตวัคซีน ถือเป็นโอกาสดีที่สุด ที่จะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และในอนาคต ไทยจะเป็นฐานการผลิตวัคซีนไม่ใช่แค่โควิด-19 แต่รวมถึงวัคซีนตัวอื่นๆ เพื่อจำหน่ายให้กับประเทศในอาเซียนด้วย” นายอนุทินบอกพร้อมกับให้ข้อมูลว่า เรื่องของวัคซีนเป็นเรื่องของความมั่นคง การได้รับเทคโนโลยีและเป็นฐานการผลิตครั้งนี้ เป็นความมั่นคงทางด้านวัคซีนของประเทศไทย เป็นสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าหลายๆประเทศในภูมิภาคอาเซียน ในฐานะผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน ซึ่งรัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุน เพื่อศักยภาพของประเทศไทย เช่นเดียวกับที่รัฐบาลให้การสนับสนุนผู้ผลิตวัคซีนในประเทศไทยหลายราย ทั้งสถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการภาคเอกชน เพื่อพัฒนาวัคซีนของคนไทยตั้งแต่ต้นน้ำ

   “เราต้องเลือกวัคซีนที่มีความเหมาะสมกับการใช้ในประเทศไทยมากที่สุด ขอยืนยันว่าการจัดหาวัคซีนจากบริษัทแอสตราเซเนกาฯ จำนวน 61 ล้านโดส และจากบริษัทซิโนแวคฯ จำนวน 2 ล้านโดส เป็นการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่คนไทยและประเทศไทย ซึ่งมีการตอบรับข้อเสนอของประเทศไทย และเสนอเงื่อนไขการขายวัคซีนให้แก่ประเทศไทย ดีกว่าผู้ผลิตรายอื่น แต่หากในอนาคตมีผู้ผลิตวัคซีนรายอื่นๆมาขึ้นทะเบียนในประเทศไทย และจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าที่จัดซื้ออยู่ในขณะนี้ ก็เป็นไปได้ที่รัฐบาลจะพิจารณาจัดซื้อ และสนับสนุนให้เอกชนจัดซื้อไปให้บริการประชาชน”

   นายอนุทิน ยังบอกอีกว่า ที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า วัคซีนอาจจะไม่เพียงพอสำหรับคนไทย ขอยืนยันว่า การจัดหาวัคซีนในระยะแรก จำนวน 26 ล้านโดส จากบริษัทแอสตราเซเนกาฯ และจำนวน 2 ล้านโดส จาก บริษัทซิโนแวคฯ เพื่อฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยง เป็นจำนวนที่คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ได้วิเคราะห์แล้วว่ามีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศไทย ซึ่งไม่ได้มีการระบาดรุนแรง และไม่มีผู้ป่วยหรือมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากเช่นในบางประเทศ ซึ่งมีความจำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนโดยด่วน แม้ว่าจะเกิดผลข้างเคียงที่ยังไม่รู้แน่ชัด

   “ผมยืนยันครับว่า สถาบันวัคซีนแห่งชาติ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ได้จองซื้อวัคซีนของบริษัทแอสตราเซเนกาฯ เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 35 ล้านโดส รวมเป็น 63 ล้านโดส สำหรับประชากร 31.5 ล้านคน คิดเป็น 63% ของประชากรที่ควรรับวัคซีนได้ ซึ่งมีประมาณ 50 ล้านคน ตัดกลุ่มอายุต่ำกว่า 18 ปี และหญิงตั้งครรภ์ออก ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนไทย”

   รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในตอนท้ายว่า การวางแผนจัดหาและฉีดวัคซีน ต้องคำนึงปริมาณที่เหมาะสม ไม่เช่นนั้นจะเกิดความสูญเสียและสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้ UNICEF ได้คาดการณ์ปริมาณวัคซีนที่จะเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ว่าน่าจะมีจำนวนที่เพียงพอต่อความต้องการ และมีแนวโน้มที่วัคซีนจะราคาถูกลงกว่าในขณะนี้ ซึ่งรัฐจะประหยัดงบประมาณไปได้อีกมาก

   โดยสรุป การจัดหาวัคซีนเป็นไปตามหลักการคำนวณของคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยคำนึงถึงสถานการณ์การระบาดในประเทศ และความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ.

 

 

 

อ้างอิง:

https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/health/2022496?cx_testId=38&cx_testVariant=cx_1&cx_artPos=1#cxrecs_s

ทริปแนะนำ
ASCN-251 จีน ฉงชิ่ง ต้าจู๋ อู่หลง อู่หลิงซาน หุบเขารอยแยก อุทยานหลุมฟ้า (ไม่ลงร้าน)5 วัน 4 คืน

ราคาเริ่มต้น 19,990 บาท

ธ.ค. 2567 - 02 ม.ค. 2568

รอบการเดินทาง 2 ไฟล์ท

ASLA-22 ลาว หลวงพระบาง เวียงจันทน์ วังเวียง กุ้ยหลินแห่งเมืองลาว 3 วัน 2 คืน

ราคาเริ่มต้น 12,999 บาท

ธ.ค. 2567 - 15 เม.ย. 2568

รอบการเดินทาง 7 ไฟล์ท

ASEU-165 โปรตุเกส สเปน 10วัน 7คืน

ราคาเริ่มต้น 95,900 บาท

ธ.ค. 2567 - 20 เม.ย. 2568

รอบการเดินทาง 4 ไฟล์ท

AS EU-127 ยุโรปตะวันออก เยอรมัน ออสเตรีย เช็ค สโลวาเกีย ฮังการี 8 วัน 6 คืน

ราคาเริ่มต้น 95,999 บาท

ก.ค. 2567 - 06 ม.ค. 2568

รอบการเดินทาง 8 ไฟล์ท

ASTP-88 ไต้หวัน เที่ยว 2 อุทยาน ล่องเรือทะเลสาบสุริยันจันทรา อุทยานเหย่หลิว 5 วัน 4 คืน

ราคาเริ่มต้น 24,900 บาท

ม.ค. 2568 - 14 ม.ค. 2568

รอบการเดินทาง 2 ไฟล์ท

ASGG-32 จอร์เจีย 8 วัน 5 คืน

ราคาเริ่มต้น 59,900 บาท

ม.ค. 2568 - 31 มี.ค. 2568

รอบการเดินทาง 5 ไฟล์ท

บทความแนะนำ

7 แอร์ไลน์ บรรเทาทุกข์ COVID-19
"ไปเวียดนาม ฉันต้องได้รูป"
คลังย้ำคนไร้สมาร์ทโฟนลงทะเบียนเราชนะ 15-25 ก.พ.64
กางผลสำรวจ ‘ทัวร์ยุโรป’ เล็งเที่ยวไทยไฮซีซันรับวัคซีน